Skip to main content

อินเดีย-ปากีสถาน

อินเดีย​ พื้นที่​ 3,287,590 ตร.กม
สมัยจักรวรรดิโมกุล (Mughul) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช (Akbar) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน (Shah Jahan) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” (Taj Mahal) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
อินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ 
(พ.ศ. 2401 - 2490)
ส่วนพม่ารัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ
 (ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) 
ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้ทั้งหมด
ปากีสถาน​ พื้นที่​ 881,913  ตร.กม.
คำว่า "ปากีสถาน" มีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซีย ในขณะเดียวกันก็มาจากการนำอักษรแรกของชื่อดินแดนต่าง ๆ มี่ประกอบกันเป็นประเทศปากีสถานขึ้นมา คือ ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) อิสลามาบาด (Islamabad) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN)
70 ปีก่อน อังกฤษถอนตัวออกจากอินเดียถือเป็นการสิ้นสุดการเป็นเจ้าอาณานิคม โดยได้แบ่งดินแดนนี้ออกเป็นประเทศที่ปกครองตนเอง 2 ประเทศได้แก่อินเดียและปากีสถาน เหตุใดการแบ่งแยกนี้ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในศตวรรษที่ 20?

ก่อนที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่เคยมองว่าเป็นอัญมณีล้ำค่าในบรรดาชาติอาณานิคมของอังกฤษ ในสมัยนั้นอินเดียมีประชากรเกือบ 400 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู โดยมีประชากรที่นับถืออิสลามมีอยู่ราว 1 ใน 4 อังกฤษตัดสินใจแบ่งดินแดนโดยใช้ศาสนา
นายชวาหะร์ลาล เนห์รู ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ไม่เห็นด้วยในการใช้ศาสนามาแบ่งประเทศ แต่นายมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ซึ่งต่อมากลายเป็นข้าหลวงใหญ่คนแรกของปากีสถานยืนกรานว่า ชาวมุสลิมต้องมีชาติของตัวเอง
ชาวอังกฤษที่อยู่วงในบอกว่า 'การแบ่งประเทศและเอกราชมาพร้อมกัน' และ 'อย่างหนึ่งเป็นต้นทุนของอีกอย่าง'

ลอร์ด เมาท์แบตเทน ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อังกฤษ ได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจนี้ โดยเขาคิดว่าต้องจัดการให้ลุล่วงอย่างเร็วที่สุด จึงจะเป็นผลดีที่สุด ดังนั้นเส้นแบ่งประเทศจึงถูกร่างขึ้นภายในเวลาเพียง 5 สัปดาห์

วันที่ทั้งสองฝ่ายได้รับเอกราชคือ วันที่ 14 และ 15 สิงหาคม 1947

ปากีสถานและอินเดียต่างฉลองเอกราช แต่สองวันหลังจากนั้น เมื่อมีการประกาศว่าเส้นพรมแดนอยู่ที่ไหน ทั้งสองฝ่ายต่างไม่พอใจ

จินนาห์ บอกว่า ดินแดนที่ปากีสถานได้มีลักษณะเหมือน "มอดแทะ" แบ่งเป็น 2 ปีก มีอินเดียขวางกั้นด้วยพรมแดน 2,000 กิโลเมตร

ต่อมาในปี 1971 ปากีสถานตะวันออกแยกตัวเป็นเอกราช กลายเป็นประเท
ศบังกลาเทศ
ในช่วงก่อนที่อินเดียและปากีสถานจะได้รับเอกราช เกิดการปะทะกันระหว่างชาวฮินดู และชาวมุสลิม แต่ไม่มีใครคาดว่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในการแบ่งประเทศ มีผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 12 ล้านคน อพยพจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง มีผู้เสียชีวิต 5 แสนถึง 1 ล้านคน และมีผู้หญิงหลายหมื่นคนถูกลักพาตัว

นับตั้งแต่แยกจากกัน ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย-ปากีสถานก็ยังไม่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในแคชเมียร์ โดยหลังได้เอกราชไม่กี่สัปดาห์ ทั้งสองประเทศก็เริ่มสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงหุบเขาแคชเมียร์ ถือเป็นความขัดแย้งที่ยังหาทางออกไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นผลพวงจากความไม่ลงตัวในการแบ่งแยกประเทศ