Skip to main content

วิภังคปกรณ์

 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์

สุตตันตภาชนีย์
๑. ขันธวิภังค์
[๑] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์ รูปขันธ์​ : รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน
รูปภายใน​ รูปภายนอก
รูปหยาบ รูปละเอียด
รูปทราม รูปประณีต​
รูปไกล รูปใกล้
เวทนาขันธ์​ : เวทนาอดีต เวทนาอนาคต​ เวทนา​ปัจจุบัน
เวทนา​ภายใน​ เวทนา​ภายนอก
เวทนาหยาบ เวทนา​ละเอียด
เวทนา​ทราม เวทนา​ประณีต​
เวทนา​ไกล เวทนา​ใกล้
สัญญา​ขันธ์​ : สัญญา​อดีต สัญญา​อนาคต....... ฯ
สังขาร​ขันธ์​ : สังขารอดีต.....​ฯ
วิญญาณขันธ์​ : วิญญานอดีต.....​ฯ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
================================== อภิธรรมภาชนีย์ [๓๒] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์​ เช่น
[๓๗] รูปขันธ์หมวดละ ๕ คือ
ปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ
เตโชธาตุ
วาโยธาตุ
อุปาทารูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ ด้วยประการฉะนี้
[๔๑] รูปขันธ์หมวดละ ๙ คือ
จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์ อิตถินทรีย์
ปุริสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์
รูปไม่เป็นอินทรีย์
รูปขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้
[๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ
เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ
เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ
เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ คือ
กามาวจร รูปาวจร​ อรูปาวจร อปริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ คือ
สุขขินทรีย์​ ทุกขินทรีย์​
โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ คือ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
👉​ ตัวอย่างโดยใช้อินทรีย์
👉​ #อินทรีย์ คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน #รูปขันธ์๙ 1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์ 3. ฆานินทรีย์ 4. ชิวหินทรีย์​ 5. กายินทรีย์ 6. มนินทรีย์ 7.​ อิตถินทรีย์ 8. ปุริสินทรีย์ 9. ชีวิตินทรีย์ #เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ คือ 1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์ 3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์ 5. อุเปกขินทรีย์ #สัญญาขันธ์ #สังขารขันธ์ #วิญญาณขันธ์​ หมวดละ ๕ คือ เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต
[๖๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ
เป็นจิตตสัมปยุต.
สังขารขันธ์หมวดละ๒ คือ
เป็นเหตุ เป็นนเหตุ.
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ
เป็นกุศล​ เป็นอกุศล​ เป็น​อัพยา​กฤต​
[๘๔] ขันธ์ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์ ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล
ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ ติกมาติกาวิสัชนา อภิธรรมภาชนีย์
[๙๙] อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ
เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๒. โสตายตนะ ๓. ฆานารียตนะ ๔. ชิวหายตนะ ๕. กายายตนะ ๖. มนายตนะ
มนายตนะ​ เป็นผัสสสัมปยุต. หรือ
มนายตนะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ​ หรือ
มนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เป็นต้น
๗. รูปายตนะ
๘. สัททายตนะ ๙. คันธายตนะ ๑๐. รสายตนะ ๑๑. โผฏฐัพพายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ​ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้
นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ
#ธรรมเป็นปริยาปันนะ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น กามาวจร​ รูปาวจร​ อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ. #ธรรมเป็นอปริยาปันนะ เป็นไฉน? มรรค ผลของมรรค และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอปริยาปันนะ (อสังขตธาตุ คือ ความสิ้นราคะ​ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ)
ธาตุ ๖ นัยที่ ๓ [๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ ๓. วิหิงสาธาตุ ๔. เนกขัมมธาตุ ๕. อัพยาปาทธาตุ ๖. อวิหิงสาธาตุ ๑. กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความดำริ อันประกอบด้วยกาม
ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์
ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์มิจฉาสังกัปปะ
นี้เรียกว่ากามธาตุ
ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด
ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด
ขันธ์ ธาตุ​ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ
ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ เป็นไฉน ความตรึก อันประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ
มิจฉาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ
อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ในอาฆาฏวัตถุ ๑๐
ความอาฆาตมีกำลัง​ ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ
ความกำเริบความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความที่จิตพยาบาท ความโกรธ กิริยาที่โกรธ
ความพยาบาท สภาพที่พยาบาท ความพิโรธ ความดุร้าย
3. วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก อันประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ
มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่าวิหิงสาธาตุ
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง
กิริยาที่ข่มเหง ความเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น
นี้เรียกว่าวิหิงสาธาตุ
4. เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ
สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ
กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่าเนกขัมมธาตุ
5. อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ
สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย
เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
6. อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก อันประกอบด้วยอวิหิงสา
ความดำริความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์
ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์
ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
สัมมาสังกัปปะนี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
ความกรุณา กิริยาที่กรุณาสภาพที่กรุณา
ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
อภิธรรมภาชนีย์​ (อัฏฐังคิกวาร)​ [๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ๓. ทุกขนิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมัย
๔. สัจจวิภังค์ ( สุตตันตภาชนีย์)​ [๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ทุกขอริยสัจ [๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์อัปปิเยหิ สัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น
#สัมมาทิฏฐิ ก็คือ
1. ความรู้ในทุกข์
ก็คือ​ ชาติทุกข์ ชราทุกข์
มรณทุกข์ โสกปริเทว
ทุกขโทมนัส​ ฯ
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕​ เป็นทุกข์
2. ความรู้ในทุกขสมุทัย
ก็คือ ตัณหา
อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ยินดีเพลิดเพลิน
อยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
3. ความรู้ในทุกขนิโรธ
ก็คือ
ความสำรอกและความดับ
โดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง
ความส่งคืนความพ้น
ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหา
4. ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ก็คืออริยมรรคมีองค์ ๘
#สัมมาทิฏฐิ
#สัมมาสังกัปปะ
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ
#สัมมาวาจา
เว้นจากวจีทุจริต ๔
#สัมมากัมมันตะ
เว้นจากกายทุจริต ๓
#สัมมาอาชีวะ
เว้นจากมิจฉาอาชีวะ
#สัมมาวายามะ
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ
#สัมมาสติ
สติ ความตามระลึก ฯลฯ
#สัมมาสมาธิ
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ

วิวัฒน์​สวัสดี..
[๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา​ สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
[๑๖๓] สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในการไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
[๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน ความงดเว้นจากการพูดเท็จ
ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
ความงดเว้นจากการพูดหยาบ
ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
[๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ความงดเว้นจากการลักทรัพย์
ความงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
[๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้
ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
[๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ
เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ
เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ทำฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ตั้งจิตไว้
เพื่อความดำรงอยู่ความไม่สาบสูญ
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์
แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
[๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณาเห็นกาย ในกายเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ [๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ที่มี วิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย