Skip to main content

America

America First​ : หมายถึง
กลุ่มผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกา​
ไม่สามารถ​ยอมรับ​สภาพในปัจจุบัน
                  ของ​ตนเอง​ได้
ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม
👉 ครั้งแรกในศตวรรษที่ 17, ​18
เริ่มปี​ ค.ศ.​ 1760 ตรงกับสมัย
​ ​สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ของไทย
     ระหว่างปี พ.ศ. 2301-2310
เครื่องยนต์ไอน้ำขับเคลื่อน
จักรวรรดิอังกฤษเป็นผู้นำการปฏิวัติฯ
ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจเกษตรกรรม
จากการผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน
แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ
เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้
เครื่องจักรกลแทน
ค.ศ. 1694 รัฐบาลจัดตั้งธนาคารแห่ง
ประเทศอังกฤษ (BANK OF ENGLAND)
มีการพัฒนาคูคลอง, ทางคมนาคม, ท่าเรือ
เรือกลไฟ, ทางรถไฟและปี​ ค.ศ. 1793
แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย (COTTON GIN)
ทำให้เกิดโรงงานทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำ
ทั่วประเทศ มีการขยายตัวทำไร่ฝ้าย
ในอเมริกา​และต่อมาใน ค.ศ. 1807 ชาว
อังกฤษได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
จำหน่ายเครื่องจักรรวดเร็ว คิดค้นวิธีการ
หลอมเหล็กให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้
มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย
การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการ
อพยพจากชนบทมาหางานทำในเมืองทำให้มี
รายได้เพิ่มสูงขึ้นอีกมาก
แรงงานทาสของอังกฤษถูกยกเลิกในปี​ ค.ศ.
1833 และได้เปลี่ยนเป็นแรงงานรับจ้าง
👉 ​ครั้งที่สองในช่วงศตวรรษ​ 18, 19
เริ่ม​ค.ศ. 1840 ปลายสมัยรัชกาล​
       พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว​ ข​องไทย
       พ.ศ.​2330-2394  และ
       ก่อนสงครามโลกครั้งที่​ 1
   ค.ศ. 1914 -  ค.ศ. 1918 และสอง
        ค.ศ.​ 1939  -​ค.ศ. 1945
เปลี่ยนจากเครื่องจักร​ไอน้ำ​
มาเป็นพลังงานไฟฟ้า, เทคโนโลยี่ในยุคนี้
จะผ่านตามาจากภาพยนตร์​สงครามโลก
ครั้งที่​หนึ่งและครั้งที่สองอย่างดี​เช่น​
การสือสาร​ไร้​สาย​และ​อากาศ​ยาน, รถถัง
เรือบรรทุกเครื่องบิน, โทรศัพท์, ปืนกล
ความเจริญอยู่ในแถบ​ ยุโรปและ
สหรัฐอเมริกา​ ​มีการผลิตไฟฟ้าจำนวนมาก
และการผลิตเครื่องยนต์​สันดาป​
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน​และ
สถาปัตยกรรม​ได้พัฒนาการ​ก้าวหน้า​ไป​มาก
เกิดการแข่งขัน​ทางเศรษฐกิจ​
โดยเฉพาะ​เยอรมนี​กับอังกฤษ, ซึ่งเยอรมนี​ได้
ครองตลาดการค้าเป็นที่นิยมทั่วโลกว่าสินค้า
ดีทนทาน​และราคาไม่แพงทำให้สินค้าอังกฤษ
ขายไม่ออกสินค้าตกค้าง​ทำให้เศรษฐกิจ​ตก
และลามไปทั่วโลก, มีการแย่งชิงทรัพยกร​
เกิดปัญหาสังคม​ต่างๆมากมาย, ความเอารัด
เอาเปรียบ, เกิดการแบ่งค่ายลัทธิ​เสรีนิยมกับ
ลัทธิ​สังคมนิยม, เป็นยุคล่าอาณานิคม, จนเกิด
สงครามโลกถึงสองครั้ง, เกิดวันแรงงานโลก
👉​ ครั้งที่สามในศตวรรษที่ 19​ เริ่มค.ศ.​ 1945
ในปลายสมัยรัชกาล​ที่​ 8
ซึ่งขับเคลื่อนโดยสหรัฐอเมริกา​ เป็นยุค
ของคอมพิวเตอร์​ สหรัฐฯเป็นผู้ควบคุม​
IP​ Address บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก​
การสือสารด้วยดาวเทียม​
คอมพิวเตอร์​เทคโนโลยี​สารสนเทศ
  จะเน้นถึงปริมาณ​ความจุของ​
ข้อมูลจำนวนมาก, ความรวดเร็วในการ
คำนวณของคอมพิวเตอร์​​และการเข้าถึง
ข้อมูลสารสนเทศ​เป็นหลัก, เกิดโทรศัพท์​
ไร้สาย​สัญญาณ​ analog
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
โลกแคบลงด้วยอินเตอร์เน็ต​ การติดต่อ
สื่อสาร​สะดวกสบาย​รวดเร็ว​กว่าเก่ามาก
ระบบโรงงานมีระบบคอมพิวเตอร์​ควบคุม
มีระบบอัตโนมัติ​ในครัวเรือนมีชีวิตที่สะดวก
มีทีวี​สี, ตู้เย็น, แอร์และอีกมากมายซึ่งเป็นที่
รับรู้อยู่ในปัจจุบัน
สหรัฐอเมริกามีกองกำลังทหารประจำการอยู่
ทั่วโลก, มองตนเองว่าเป็นผู้พิพากษา ในการ
เป็นผู้ดูแลสังคมโลก นี่เป็นแนวทางปฏิบัติมา
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเรียก
ตนเองว่าเป็น "ผู้นำโลกเสรี"
ในปีค.ศ.1972​ ให้ใช้เงิน​ ดอลลาร์สหรัฐ​
ในการซื้อขายน้ำมันและยกเลิกการใช้
ทองคำเป็นตัวค้ำประกัน​สำหรับสหรัฐ​ฯ
เงินดอลล่าร์​สหรัฐ​ฯกลายเป็นเงินตัวกลาง
ที่ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขาย​
ในปีค.ศ.​ 1987​ ได้ออกกฏหมาย
Anti-Terrorism Act of 1987 (ATA)
ที่โยงไปถึงรัฐบาลต่างชาติได้
👉​ ครั้งที่สี่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
​ ค.ศ.​ 1991 ในสมัยรัชกาลที่​ 9​
ปัจจุบัน​ก็นับเป็นต้นยุคของอุตสาหกรรม​
ด้วยการพัฒนา​ Wave digital สัญญาณ​
2G,3G,4G, และ​ปัจจุบัน​ 5G, quantum
ปัจจุบัน​สหรัฐ​ยังเป็นผู้นำทางอำนาจ
Justice Against Sponsors of Terrorism Act of 2016 (JASTA) กฎหมาย​ใช้บังคับกับคนอเมริกัน แต่ก็โยงไปถึงต่างชาติที่ให้การ
สนับสนุนการก่อการร้าย รวมถึงการพิจารณาลงโทษ รัฐบาล บริษัทธุรกิจต่างชาติที่เพียงแค่สงสัยว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย
สามารถฟ้องร้องบุคคลหรือยึดทรัพย์สินได้
สำนัก​งานใหญ่​ของ​ ICANN​ ในลอส​แอนเจลิส
มีอำนาจในการควบคุมอินเตอร์​เน็ต​ระดับ
พื้นฐานที่สุด​ (DNA root zone)
👉 กด​ ชมเทคโนโลยี​ 5G​ จาก​ Samsung​
https://www.youtube.com/watch 5G
v=ajD2WZioOOc
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
สหภาพโทรคมนาคม​ระหว่างประเทศ
International Telecommunication 
Union (ITU)​  มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่
 นครเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 
ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ
สมาชิกหลายประเทศเห็นว่าสหรัฐ​ใช้อำนาจ
มากเกินไป​ผ่านทาง​ ICANN​ แต่ทางสหรัฐฯ
สาบานที่จะต่อต้าน​ ITU​ ที่จะมีอำนาจผ่าน
ทางอินเทอร์เน็ต​  อำนาจหลักที่ผลักดัน​
โยกอินเตอร์​เน็ต​ไปที่​ ITU​ ก็คือจีน
ใครคือผู้ขับเคลื่อน​ตัวหลัก?

👉 จากประวัติศาสตร์
สิ่งที่จะเป็นผู้นำระดับโลก
ต้องมุ่งมั่นที่จะครอง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
ซึ่งโดดเด่นด้วยความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีซึ่งรวมถึงปัญญาประดิษฐ์
การผลิตขั้นสูงหุ่นยนต์
นาโนเทคโนโลยีชีวภาพวิศวกรรมชีวภาพ
และควอนตัมคอมพิวเตอร์
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
จีนได้ทุ่มพลังงานทั้งหมดของประเทศ
ด้วยการวิจัยและพัฒนา AI และมุ่งเน้นไปที่
การทำงานของผู้ประกอบการที่หิวโหยการแข่งขันที่เข้มข้นและการเริ่มต้นธุรกิจ
ในช่วงปลายของปี 2560
นักลงทุนร่วมทุนของจีนได้หลั่งไหล
เข้าสู่สตาร์ทอัพของ AI และมากพอที่
พวกเขาทำเงิน 48% ของการระดมทุน
ของเอไอทั้งหมดทั่วโลก
มากกว่าสหรัฐฯเป็นครั้งแรก
World Economic Forum (WEF)
annual meeting, on January 23, 2019
in Davos, eastern Switzerland.
Tim Ryan, US chair of PwC ได้กล่าวว่า
"The Geopolitics of the Fourth Industrial Revolution," I stated bluntly that China was on track to take the commanding heights of AI and that the consequences could be historic in nature.
"ภูมิศาสตร์การเมืองของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่" ฉันกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่าจีนกำลังก้าวไปสู่จุดสูงสุดของ AI และผลที่ตามมาอาจเป็นประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ
Countries that are most innovative and technologically advanced tend to dominate international relations.
👌 ประเทศที่มีนวัตกรรมและ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุด
มักจะมีอิทธิพล
เหนือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.

₩ ประเทศไหนที่มี connectography มาก ประเทศนั้นจะมีอำนาจมากตามไปด้วย.. ● ผมว่าในอดีตกล่าวเช่นนั้นได้ครับ
เพราะองค์ประกอบของอำนาจ อาจหมายถึงแสนยานุภาพทางการทหาร
แสนยานุภาพทางอาวุธ
หรือแสนยานุภาพทางเศรษฐกิจ ○ แต่ในอนาคตต้องรวม​ connectography
องค์ประกอบที่จะนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงด้วย
ความสัมพันธ์ทางอำนาจ
◆ connectivity (การเชื่อมโยง) กับ
geography (ภูมิศาสตร์) ความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกแบ่งด้วย
เงื่อนไขทางการเมือง และภูมิศาสตร์
อาจนำไปสู่การขยายความร่วมมือ อันนำไปสู่ผลประโยชน์แบบ win-win ผลประโยขน์ทางการเมืองดังกล่าว จะนำไปสู่ connectography
ประเทศไหนที่มี connectography มาก ประเทศนั้นจะมีอำนาจมากตามไปด้วย ○ ตัวอย่างกลุ่มประเทศอาเซียน : ที่เคยสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น ในวันนี้หลายประเทศ
เริ่มห่างจากสหรัฐอเมริกา และไปเชื่อมโยงกับจีนมากขึ้น
ความสำคัญของจีนที่มีต่ออาเซียน คือการสร้างความเชื่อมโยงผ่านการค้า
การลงทุนและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
ผ่านความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ACMECs ศูนย์กลางจีน-อาเซียน
สมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว
เมียนมา เวียดนาม และไทย
(CLMVT) ​ประชากรกว่า 230 ล้านคน 
และจำนวนแรงงานมากกว่า 130 ล้านคน
เป็นทั้งตลาดและ supply chain
ที่สำคัญในเอเชีย,​โดยมี
​Belt and Road Initiative (BRI)
เส้นทางรถไฟจากจีนที่จะลงสู่ใต้จะเป็นการ
​ เชื่อมโยงประชาชนและธุรกิจระหว่าง 2
ภูมิภาคโดยตรง หากมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด
ระหว่างกันในระหว่าง 2 อนุภูมิภาค
ย่อมหมายถึงพลังร่วมที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้น
ดังนั้น connectography จึงเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของ
ภูมิรัฐศาสตร์ และอารยธรรมของโลกในอนาคต.
👉​ เหตุการณ์​ล่าสุด​ :
#​ ตามภาพข้างบนความเจรฺิญทางด้าน
เทคโนโลยี​ถึงที่สุดก็อยู่ที่​ ITU
#​ America First
จนถึงปลายปี​ ค.ศ.​2018​ ก็เกิดกรณีจับ
CFO​ huawei​ จนถึงปัจจุบันนี้
สหรัฐ​อเมริกา​พยายามกดดันจีนผ่าน
พันธมิตร​โดยมี huawei​ เป็นปัจจัย
เช่นสัปดาห์​ที่ผ่านมานายไมค์​ ปอมเปโอ​
รัฐมนตรีต่างประเทศ​สกรัฐฯได้กล่าว
เตือนไม่ให้ใช้อุปกรณ์​ข​องหัวเว่ยในขณะ
ที่ไปเยือนสโลวาเกีย​ กับ​ ฮังการี​
แต่ประเทศ​ฮังการี​นาย​ Peter  Szijjarto
รัฐมนตรีต่างประเทศฮังการี​ได้ตอบว่า
 โลกจะไม่พัฒนาไปมากกว่า​นี้​ หากบาง
ประเทศ​มัวแต่ใช้เวลาของตนเข้าไป
แทรกแซง​การเมืองภายในของประเทศอื่น
(นี่ก็แสดงถึง​ connectography​ ของจีน
กับยุโรปตะวันออก​ในปัจจุ​บัน)
#​ Bill Gates เจ้าของ​ Microsoft กล่าวว่า
จีนเป็นผู้อุทิศ​ให้กับแอฟริกา​โดยแท้
นี้ก็แสดงถึง​ contography เช่นกัน
👉​สหรัฐฯ ถอนตัวจากคณะมนตรี
  สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 
  พร้อมทั้งกล่าวหาว่า คณะมนตรีความ
  มั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็น
    "หลุมแห่งอคติทางการเมือง"
👉สหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงปารีส
     ซึ่งเป็นกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติ
     ว่าด้วยการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
     ของสภาพภูมิอากาศ 

👉​สหรัฐฯ ถอนตัวจากสนธิสัญญา

     อาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง

ท้ายนี้อนาคตของอุตสาหกรรม​ยุคที่​ 4
จะล้ำยุคไปได้ไก​ลระดับ​ไหนหรือจะต้อง
มีการสะดุด​ครั้งที่​ 3 ก่อน​ ไปต่อ.....
สรรพสิ่ง​ล้วน​เปลี่ยนไป​ตาม​กาล​เวลา

ข้างล่างนี้เป็นบทความของ
สิริอัญญา​ หนังสือพิมพ์​แนวหน้า
16​ กุมภาพันธ์​ 2562
กรณีผลกระทบจากสงครามการค้ามาถึงโทรศัพท์มือถือหัวเว่ยและไอโฟนนั้น มีพัฒนาการเป็นลำดับมาดังต่อไปนี้
ประการแรก เริ่มต้นด้วยการที่สหรัฐออกหมายจับผู้บริหารของหัวเว่ย และให้ประเทศแคนาดาทำการจับกุม จากนั้นก็ขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐ จีนจึงตอบโต้ด้วยการสั่งจับพวกสายลับต่างๆ ของแคนาดากว่า 30 คนแล้ว และกำลังยื้อกันอยู่
ประการที่สอง ผู้บริหารหัวเว่ยที่ถูกจับได้แจ้งต่อชาวจีนว่า ไม่ต้องห่วงที่เธอถูกจับ และขอรัฐบาลจีนอย่าได้ถือเธอเป็นอุปสรรคในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งนี้เธอพร้อมที่จะพลีชีพเพื่อมาตุภูมิจีน สร้างความสะเทือนใจไปทั่วประเทศจีน จึงทำให้บริษัทต่างๆ และประชาชนจีนพากันโกรธแค้นและเลิกใช้ไอโฟน หลายกิจการ และหลายพื้นที่ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ขอให้พนักงานเลิกใช้ไอโฟน ถึงขนาดหลายรายลงทุนซื้อหัวเว่ยแจกให้แก่พนักงานเพื่อทดแทนการใช้ไอโฟน
ประการที่สาม ผลจากการแสดงท่าทีของประชาชนจีน ทำให้ยอดขายของไอโฟนตกลงกว่า 30% กระทบต่อราคาหุ้นในตลาดของสหรัฐอย่างรุนแรง บรรดาผู้ถือหุ้นรุมกันก่นด่าว่าฝ่ายบริหารของสหรัฐอย่างสาดเสียเทเสีย ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้สหรัฐต้องเอาคืน โดยขอให้มิตรประเทศร่วมมือในการไม่ใช้หรือไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย รวมทั้งโทรศัพท์มือถือด้วย และกำลังขยายจำนวนประเทศเพื่อไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย
ประการที่สี่ ประชาชนจีน 1,400 ล้านคน และกลุ่มประเทศองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้กว่าครึ่งโลกคงจะสนับสนุนการใช้หัวเว่ย และเลิกใช้ไอโฟนไปตามกระแสขับเคี่ยวของสงครามการค้า ในขณะที่สหรัฐและมิตรประเทศแม้จะพยายามเอาคืน แต่จำนวนประชากรน้อยกว่ากันมาก
และที่สำคัญคือความก้าวหน้าในการพัฒนาของไอโฟนล่าช้าลงไปมาก เทียบไม่ได้กับพัฒนาการของโทรศัพท์หัวเว่ย แม้กระทั่งการใช้กล้องถ่ายภาพซึ่งเป็นความต้องการลำดับต้นของการใช้โทรศัพท์มือถือ ทางหัวเว่ยก็พัฒนาก้าวหน้าไปไกลแสนไกล ไม่ต้องพูดถึงแบตเตอรี่ที่สามารถใช้ได้อย่างพอเพียงและเหลือเฟือไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี่กันวันละสิบครั้งเหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ
ผลกระทบจากการที่ยอดขายไอโฟนตกต่ำลง เป็นเหตุให้ฝ่ายบริหารของไอโฟนต้องยกเลิกการผลิตบางอย่างบางรุ่น รวมทั้งระบบปฏิบัติการบางระดับด้วย จึงยิ่งทำให้ไอโฟนล้าหลังตกรุ่นมากขึ้นไปอีก
และที่สำคัญ ทางจีนไม่ขายผลิตภัณฑ์บางอย่างที่เป็นส่วนประกอบของไอโฟน ทำให้ไอโฟนไม่สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ ดุจดั่งถูกมัดเท้าไว้กับเสา กว่าจะแก้ไขให้คืนดี หัวเว่ยก็คงแย่งตลาดไปหมดแล้ว
และที่สำคัญที่สุดสำหรับตลาดก็คือ ราคาของไอโฟนนั้นสูงมาก แม้ผลิตในจีนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีราคาสูง ดังนั้น โดยราคาจึงสู้ใครไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อขาดนวัตกรรมใหม่ๆ และความก้าวหน้าถดถอยลงไปไอโฟนก็มีแต่จะตกยุคไปเรื่อยๆ กว่าจะขยับตัวได้ทันก็ยากที่จะแย่งตลาดกลับคืนได้อีกแล้ว
ดูชะตากรรมของไอโฟนแล้วก็คงเดินตามไปในเส้นทางเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ โนเกีย หรือโซนี่ หรือโมโตโรล่าที่เลื่องชื่อลือชาในอดีต แต่มาถึงวันนี้ชื่อเหล่านั้นก็ล่วงลับดับหายไปหมดแล้ว
สภาพดังกล่าวนี้คือบทเรียนและตัวอย่างให้กับประเทศต่างๆ ในการที่จะตัดสินเลือกอนาคตของตนเองว่าจะยอมอยู่ใต้อาณัติของชาติอื่นแล้วถูกรุมกินโต๊ะ หรือว่าจะเป็นอิสระแก่ตัว และสามารถสร้างดุลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม

แต่มาถึงวันนี้สำหรับประชาชนไทยแล้ว แทบจะชัดเจนว่าไม่ยอมรับการบังคับของใครที่จะต้องให้ใช้โทรศัพท์ยี่ห้อใด เพราะไทยก็คงเป็นไทอยู่ร่ำไป